top of page

พลังงานในร่างกายมนุษย์

พลังงานพลังงาน คือ พลังที่ทำให้เกิดงานแหล่งพลังงานทุกกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตล้วนแต่ต้องใช้ พลังงาน ไม่ว่าจะเป็น การล่าเหยื่อของสัตว์ป่า เช่น สิงโต เสือ หรือจะเป็นการบินของนก การว่ายน้ำของปลา และ การออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ทุกกิจกรรม ล้วนแต่ต้องใช้พลังงานทั้งนั้น พลังงานได้มาจากการสลายอาหาร โดยเก็บสะสมในรูปของ สารเคมีที่มีพลังงานสูง นั่นก็คือ Adenosine triphosphate หรือ ATPซึ่ง ATP ประกอบด้วย เบสอินทรีย์ชื่อ Adenine น้ำตาลไรโบส และ หมู่ฟอสเฟต (Pi) อีก 3 หมู่ พันธะที่เชื่อมระหว่างหมู่ฟอสเฟตคือ พันธะฟอสเฟต (phosphate bond) เมื่อ ATP แตกตัวจะได้สารใหม่เกิดขึ้นคือ Adenosine diphosphate หรือ ADP กับ Pi และจะปล่อยพลังงานออกมาใน 1 โมเลกุลของ ATP จะให้พลังงานออกมาประมาณ 7-12 กิโลแคลอรี หรือ ประมาณ 29.4-50.4 กิโลจูลการสังเคราะห์ ATPจากที่ได้กล่าวมาแล้วว่า พลังงานนั้น เกิดจากการแตกตัวของ ATP ดังนั้น ถ้าไม่มี ATP ก็จะไม่มีพลังงาน การสังเคราะห์ ATP แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ1.ระบบฟอสฟาเจน หรือ ATP-PC ระบบนี้ จะสังเคราะห์ ATP จาก ฟอสโฟครีเอทีน ฟอสโฟครีเอทีนมีลักษณะคล้ายกับ ATP คือ อยู่ในกล้ามเนื้อ และประกอบด้วย หมู่ฟอสเฟตเหมือนกัน เมื่อฟอสโฟครีเอทีนแตกตัว จะได้ ครีเอทีน กับ Pi ซึ่ง Pi ที่แตกตัวออกมานั้น จะไปรวมกับ ADP ได้เป็น ATPแต่ในระบบนี้ จะให้พลังงานได้ประมาณ 15 วินาทีเท่านั้น 2.ระบบ glycolysis หรือเรียกอีกอย่างว่า Lactic acid system เป็นระบบที่สลายไกลโคเจน หรือ กลูโคสโดยไม่ใช้ออกซิเจน จากการสลายกลูโคสนั้น จะมีปฏิกิริยามากมาย ซึ่งจะนำมาอธิบายอย่างละเอียดในครั้งต่อๆไป ผลของการสลายจะได้กรดไพรูวิก ซึ่งถ้าไม่มีออกซิเจน กรดไพรูวิกจะเปลี่ยนกลายเป็นกรดแล็กติก ซึ่งมีผลต่อการล้าของกล้ามเนื้อใน 2 ระบบที่กล่าวมา เป็นระบบที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งระบบ glycolysis จะสามารถสร้าง ATP สุทธิได้ประมาณ 2-3 โมเลกุล (ถ้าสลายไกลโคเจนได้ 3 ATP แต่ถ้าสลายกลูโคสได้ 2 ATP) ซึ่งพลังงานที่ได้จากระบบนี้ จะสามารถใช้ได้ประมาณ 2 นาที3.ระบบ Oxidative เป็นระบบที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งระบบนี้ต่อจากระบบ glycolysis ในระบบ glycolysis กรดไพรูวิก ไม่มีออกซิเจนมารับ แต่ถ้ากรดไพรูวิก มีออกซิเจนมารับ จะเข้าสู่ระบบ Oxidative เมื่อกรดไพรูวิกรวมตัวกับ ออกซิเจน จะได้ acetyl coA ซึ่งจะไปรวมกับ ออกซาโลแอซีติก เข้าสู่วัฏจักรเครบส์ ซึ่งเรื่องของวัฏจักรเครบส์นั้น จะมาอธิบายอย่างละเอียดในครั้งต่อๆไปในวัฏจักรเครบส์จะได้พลังงาน 2 ATPหลังจากผ่านวัฏจักรเครบส์แล้ว ก็จะเข้าสู่ระบบขนส่งอิเล็กตรอน ซึ่งระบบนี้จะให้พลังงานได้ถึงประมาณ 32-34 ATPซึ่งในระบบนี้ ก็จะอธิบายในครั้งต่อๆไป ระบบ Oxidative ไม่มีกำหนดในเรื่องของเวลา ขึ้นอยู่กับออกซิเจน ถ้าตราบใดที่ยังมีออกซิเจน ร่างกายก็สามารถผลิตพลังงานจากระบบนี้ได้ และในระบบ Oxidative นี้ ยังสามารถเผาผลาญไขมันได้อีกด้วย เช่น กรดพาล์มิติก เมื่อถูกนำมาสร้างพลังงานในระบบนี้ จะได้พลังงานถึง 130 ATP เลยทีเดียว และถ้ามีความจำเป็น ร่างกายอาจจะดึงโปรตีนมาใช้สร้างพลังงานด้วยก็ได้สรุป การสร้างพลังงานในระบบ Oxidative จะให้พลังงานประมาณ 36-38 ATPใน

bottom of page